วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าชั้นเรียน ครั้งที่ 5

29  พฤศจิกายน  2555


กิจกรรมการเรียนการสอน

        -   เนื้อหาสาระในหนังสือ คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย มีอะไรบ้าง ?




มาตรฐานการเรียนรู้ =  เกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับได้


        -  เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์บ้าง ?



   -  จับคู่ 2 คน    นำเสนอขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์  หน้าชั้นเรียน

       
หน่วย  สัตว์ 



       1.   การนับ   
             นับสัตว์ในสวนสัตว์

       2.   ตัวเลข    
            เป็นตัวกำกับจำนวนจากมาก ไปหาน้อย      ** ตัวเลข  =  แทนจำนวน ,  กำกับจำนวน **

       3.   จับคู่      
             ตัวเลขกับตัวเลข  และ  รูปทรง

       4.   จัดประเภท   
             แยกประเภทของสัตว์  คือ  สัตว์บก  กับ สัตว์น้ำ

       5.   เปรียบเทียบ   
             สัตว์บก  กับ สัตว์น้ำ  สัตว์ชนิดใดมากกว่า  ,  น้อยกว่า

       6.   จัดลำดับ  
              หาค่า ,   จับคู่  1:1  (ในกรณีที่เด็กยังไม่มีประสบการณ์ด้านตัวเลขมากพอ) ,  นำมาเรียงลำดับ

       7.   รูปทรง  
             การสร้างกรงให้นกเป็นรูปสี่เหลี่ยม  

       8.   การวัด 
             วัดอาหารที่สัตว์กินในแต่ละวัน   ,   วัดพื้นที่ที่สัตว์อยู่   

       9.   เซต     
             การจัดตู้ปลา  อุปกรณ์ที่ใช้ต้องมีอะไรบ้าง

       10.  เศษส่วน   
              การแบ่งนกในกรงในจำนวนที่เท่าๆกัน

       11.  การทำตามแบบหรือลวดลาย 
              สร้างแบบ และ ทำตามแบบ

       12.  การอนุรักษ์ที่คงที่ด้านปริมาณ 
              ดินน้ำมันก้อนเท่ากัน  นำมาปั้นสัตว์รูปต่างๆ  



น.ส.  อลิสา    มานะ    เลขที่  13
น.ส.รัตติกาล   เด่นดี    เลขที่  9


หน่วย ผัก 




1. การนับ
    นับผักในตะกร้า

2.  ตัวเลข 
     เรียงผักที่นับออกจากตะกร้า ลำดับที่ 1 , 2 , 3 ....  ตามลำดับ

3.  จับคู่
     จำนวน กับ ตัวเลข

4.  จัดประเภท
     แยกผักใบเขียว

5.  การเปรียบเทียบ
     รูปทรง , ขนาด >> สั้น , ยาว  ,  จำนวน >> มาก , น้อย

6.  การจัดลำดับ
     หาค่า > จับคู่ > เรียงลำดับ

7.  รูปทรง
     ตะกร้าสี่เหลี่ยม ใส่แครอตได้กี่หัว

              
    -  รับกระดาษคนละ 1 แผ่น   "เขียนความรู้สึกที่เรียนในวันนี้"
   

หมายเหตุ
     -  สัปดาห์หน้านำกล่องรูปทรงต่างๆ มาคนละ 1 กล่อง






             

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 4

22  พฤศจิกายน  2555


กิจกรรมการเรียนการสอน

     -  อาจารย์แจกกระดาษ A4   1 แผ่น  ให้แบ่งกระดาษเป็น 4 ส่วน  
     -  ให้วาดภาพที่เป็นสัญลักษณ์แทนตัวเองลงในกระดาษที่ได้  พร้อมเขียนชื่อ



        -  ทำกิจกรรม "การแบ่งกลุ่ม"    อาจารย์กำหนดเวลาการมาเข้าเรียนของนักศึกษาคือ  ก่อนเวลา 08:30 น.  และ ตั้งแต่ 08:30 น.  เป็นต้นไป   เริ่มกิจกรรมที่ ..  นักศึกษาคนใดมาก่อน 08:30 น.  ให้เอาสัญลักษณ์ที่ใช้แทนตนเอง ไปติดบนกระดาน    
            จากกิจกรรมข้างต้นก็จะแบ่งกลุ่มได้ 2 กลุ่ม   คือ   
                       1.   นักศึกษาที่มาก่อน 08:30 น. 
                       2.   นักศึกษาที่มาตั้งแต่ 08:30 น.   
      
       - การแบ่งกลุ่ม  






        -  การนำเสนอข้อมูล   




ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย


1. การนับ  (counting)
      การเพิ่มจำนวน (+)   ,  การลดจำนวน (-)  ,  นับปากเปล่า , นับรู้ค่า  รู้จำนวนและนับมีความหมาย

2.  ตัวเลข  (number)
      แทนค่า ,  แทนจำนวน และเรียงลำดับ

3. จับคู่  (matching)
      ตัวเลข กับ จำนวน ,  ตัวเลข กับ ตัวเลข , จำนวน กับ จำนวน และความเหมือน

4.  จัดประเภท   (classification)
        การสังเกตความเหมือน  ความต่าง

5.  การเปรียบเทียบ  (comparing)
        การสังเกต และการกะปริมาณด้วยตาเปล่า

6.  การจัดลำดับ  (shape and space)
         มากกว่า  ,  น้อยกว่า 

7.  รูปทรงและพื้นที่   (shape)
         มีพื้นที่ จึง มีความจุ

8.  การวัด   (measurement)
        การใช้เครื่องมืออย่างเป็นทางการ และ ไม่เป็นทางการ  แล้วจึงหาค่า

9.  เซต  (set)
        การจัดกลุ่มโดยอาศัยเรื่องที่สัมพันธ์กัน

10. เศษส่วน  (fraction)
        การแบ่งเท่าๆกันในจำนวนเต็ม ,  ให้เด็กมีประสบการณ์กับคำว่าเต็ม  ,  ให้เด็กรู้จำนวนทั้งหมด

11.  การทำตามแบบหรือลวดลาย  (patterning)
         การเขียนตัวเลข  พยัญชนะ หรือรูปทรง 

12.  การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ  (conservation)
         การตอบในสิ่งที่ตาเห็น                 


ภาระงาน

   ให้นักศึกษาจับคู่กัน   ให้สร้างกิจกรรมที่มีขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย 1 หน่วย     ส่งในคาบ

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าชั้นเรียน ครั้งที่ 3

15   พฤศจิกายน  2555


กิจกรรมการเรียนการสอน

   -  จับกลุ่มๆละ 3 คน     ช่วยกันระดมความคิดภายในกลุ่ม ดังหัวข้อต่อไปนี้
       1. ความหมายของคณิตศาสตร์ 
       2. จุดมุ่งหมาย หรือ เป้าหมายการสอนคณิตศาสตร์
       3. ทฤษฎี หรือ หลักการสอนคณิตศาสตร์
       4. ขอบข่าย หรือ เนื้อหาหลักสูตรของคณิตศาสตร์
  -   อาจารย์แจกกระดาษให้กลุ่มละ  1   แผ่น
  



ความหมายของคณิตศาสตร์
               
          " คณิตศาสตร์ไม่ใช่เลขคณิต  พีชคณิต  ตรีโกณมิติ และเรขาคณิตเพียงอย่างเดียว แต่คณิตศาสตร์มีความหมายที่กว้างกว่านั้น คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งความคิดคำนวณ และเป็นหัวใจของการเรียน การสอนคณิตสาสตร์ ซึ่งสอนให้ผู้เรียนคิดจนเกิดการรู้แจ้ง  รู้จริง  คิดเป็นและคิดเร็ว  เพื่อนำไปวิเคราะห์สภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และเลือกใช้กลวิธีให้เหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติของคณิตศาสตร์ "
                                      
                ข้อความข้างต้นบางส่วนอ้างอิงมาจาก  :  หนังสือคณิตสาสตร์สำหรับครู
                                                                   ผู้แต่ง   :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มยุรี  ณะฤทธิ์

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์

   1.  เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานของคณิตศาสตร์
   2.  เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะทางคณิตศาสตร์และมีทักษะในการคิดคำนวณ
   3.  เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
   4.  เพื่อให้เด็กรู้จักการใช้กระบวนการในการคิดหาคำตอบ
   5.  เพื่อรู้คุณค่าของคณิตศาสตร์ และสามารถนำความรู้และเทคนิคต่างๆไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

หลักการสอนคณิตศาสตร์

   1.  เลือกวิธีให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ และความสามารถของผู้เรียน
   2.  ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
   3.  ในการจัดการเรียนการสอนเน้นการสอนจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม
   4.  สร้างความเข้สใจและให้เด็กรู้ความหมาย มากกว่าที่จะให้เด็กท่องจำ
   5.  มีวิธีการสอนในหลากหลายรูปแบบ
   6.  ควรวัดประเมินผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์

   1.  ตรรกศาสตร์  เซต  และระบบจำนวน
   2.  ทฤษฎีความน่าจะเป็น
   3.  ทฤษฎีการตัดสินใจ
   4.   การคิดคำนวณ
   5.  ฟังก์ชั่น
   6.  การเปรียบเทียบและการจัดลำดับ

สมาชิกกลุ่ม

นางสาวอลิสา                มานะ                เลขที่  13
นางสาวศิวิมล                  มณีศรี             เลขที่  24
นางสาวประทานพร     สภากาญจนาพร   เลขที่  28


กิจกรรมการเรียนการสอน (ต่อ)

      - เทคนิคในการเรียกเด็กเข้ากลุ่ม  เช่น    ปรบมือ ครั้ง   ,   การร้องเพลง


ตัวอย่างเพลงเรียกเด็กให้เข้ากลุ่ม


** เทคนิคต่างๆที่ใช้ในการเรียกเด็กเข้ากลุ่ม จะต้องสร้างข้อตกลง หรือกำหนดกติกาเสียก่อน **                                                       

     -  อาจารย์พูดถึงการร้องเพลงปฐมวัยของนักศึกษา   เนื้อเพลงที่ถูกต้องคือ 



     -     เทคนิคการสอนเพลงเด็ก  

    
 -   อาจารย์ตรวจงานที่ได้สั่งนักศึกษาในสัปดาห์ที่แล้ว  และแนะนำให้นักศึกษาปรับปรุงงานหรือเพิ่มเติมงานเป็นรายบุคคล

        

   



วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าชั้นเรียน ครั้งที่ 2

8   พฤศจิกายน  2555


กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้

      1. อาจารย์แจกกระดาษ 2 แผ่น ให้นักศึกษาทำงาน ตามหัวข้อต่อไปนี่
           -   ไปสำรวจหนังสือที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ ที่สำนักวิทยาบริการของมหาวิทยาลัย 
           -    เลือกบุคคล 1 คน ที่ให้คำนิยามเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
           -    หาจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายของการสอนคณิตศาสตร์
           -    วิธีการสอนคณิตศาสตร์
           -    ขอบข่ายของคณิตศาสตร์




กำหนดส่ง     วันพฤหัสบดีที่  15  พฤศจิกายน  2555



คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิธีการแบ่งกลุ่มของเด็ก



          การแบ่งกลุ่มของเด็กๆนั้น ต้องมีเกณฑ์ในการแบ่ง และจะต้องแบ่งกลุ่มให้มีสมาชิกในกลุ่มเท่าๆกัน



                     เมื่อเรารู้     "ค่า"     รู้     "จำนวน"      แล้วก็จะใช้การเขียนตัวเลข  (ฮินดูอารบิก)  แทน 


      - การคำนวณของเด็กปฐมวัย ครูจะต้องมีการแสดงให้เด็กเห็นถึงรูปจริงๆ หรือวางให้เห็นว่าสิ่งไหนเล็กกว่า - ใหญ่กว่า , สั้นกว่า - ยาวกว่า  หรือการเกติมให้เต็มในจำนวนนั้นๆ
      -  เด็กปฐมวัย  อายุตั้งแต่  แรกเกิด - 2 ปี   =  จะมีการเรียนรู้และซึมซับสิ่งต่างๆ โดยการใช้ประสาทสัมผัส  และเก็บข้อมูลสิ่งเหล่านั้น แต่วัตถุนั้นๆต้องมีตัวตน มีมิติ  หยิบจับ  ถูกต้องได้  มีการหมุนรอบทิศได้  เช่น ครูจะต้องใช้สื่อการสอนที่เป็นของจริง หรือจำลอง  ให้เด็กสามารถจับต้องได้
     -   การใช้ภาษากับคณิตศาสตร์จะต้องควบคู่กับไป คือ
          1.  ภาษาจะเป็นตัวทำให้คณิตศาสตร์สะท้อนออกมา
          2.  มีการใช้ภาพ
     -   การที่ครูจะจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้  ครูสามารถจัดได้ตลอดเวลา เพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็ก
    
สมองเด็กทำงานอย่างไร ?
  1.  ซึมซับ
  2.  ความรู้
  3.  รับรู้  





บทบาทหน้าที่ของครูในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
   1.  สังเกตพัฒนาการเด็ก  คือ
        -  เด็กสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ
        -  การแสดงอาการของเด็ก  เช่น  ยิ้ม  หัวเราะ  ร้องไห้  ฯลฯ
        -  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  กระทำกับวัตถุ
   2.   เปิดโอกาสให้เด็กปรับความรู้ใหม่
  

        












วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าชั้นเรียน ครั้งที่ 1

1   พฤศจิกายน  2555


กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้
            1.  อาจารย์แจ้งข้อตกลงในการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  คือ

                 - การเข้าเรียน เป็นเวลา  09:00 น.   พร้อมลงชื่อการเข้าชั้นเรียน  มาสาย 15 นาที ถือว่าขาดเรียน  
                 - การแต่งกายของนักศึกาษาให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยและคณะศึกษาศาสตร์ 

   
            2. อาจารย์แจกกระดาษ 1 แผ่น  ให้นักศึกษาเขียนในหัวข้อที่อาจารย์กำหมดมาให้   คือ
                - การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  คืออะไร?
                   การจัดกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเอง ผ่านการเล่น  การสัมผัส โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  และการให้เด็กได้ใช้ความคิดเกี่ยวกับตัวเลข
               -  ความรู้ที่คาดว่าจะได้รับจากวิชานี้ คือ ??
                   1. การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   2. การใช้สื่อทางคณิตศาสตร์
                   3. การผลิตสื่อทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   4. การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย


การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แบ่งคำสำคัญได้ 3 คำ  คือ   





เด็กปฐมวัย    แบ่งออกเป็น

1. พัฒนาการ   หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงที่แน่นอนตามลำดับขั้น (วัย) ของบุคคล   การเปลี่ยนแปลงนั้นจะทำให้เรามีความสามารถใหม่ๆ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่  ทั้งทางด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม และสติปัญญา    
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางด้านพัฒนาการ    
        เช่น เอียงตัว  พลิกหงาย  พลิกคว่ำ  คลาน  นั่ง  ตั้งไข่  ยืน  และเดิน  ตามลำดับอย่างต่อเนื่อง      (ดังภาพ)



ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
   เพียเจต์แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กออกเป็น 2 ขั้น  คือ 
   1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี   เด็กในช่วงนี้จะเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  
   2.  ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-6 ปี   แบ่งออกอีก 2 ช่วง คือ
         2-4 ปี  =  เริ่มใช้ภาษามากขึ้นตามประสบการณ์
         4-6 ปี  =  ภาษาที่ใช้เป็นประโยคมากขึ้น และมีการใช้เหตุผลมากขึ้นเช่นกัน 
         

2.  วิธีการเรียนรู้   หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากการฝึกหรือการปฏิบัติ โดยการลงมือกระทำกับวัตถุ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5  โดยกระทำอย่างต่อเนื่อง และให้อิสระในการเลือก 

การเรียนรู้เกิดได้อย่างไร??
         การเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์และปรับประสบการณ์นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ทำไมถึงต้องเรียนรู้??
         เพื่อพัฒนาตนเองให้มีชีวิตรอดและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 

การรับรู้    คือ  การได้รับประสบการณ์ใหม่ในสิ่งที่ลองกระทำ และการเข้าใจเพียงอย่างเดียว และเก็บไว้เป็นข้อมูล

ความสัมพันธ์ของการเรียนรู้กับการรับรู้
           เมื่อประสบการณ์ใหม่สอดคล้องสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ และปรับเป็นองค์ความรู้ ในที่สุดทำให้คนเราเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม