วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

สื่อกลุ่ม

บล็อกคณิตศาสตร์   >>  ทำจากแกนกระดาษทิชชู่







 แผ่นชาร์ต >> แผนภูมิรูปภาพ




วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

            การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐาน
           ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


                                                            ปริญญานิพนธ์    
                                                                 ของ
                                                         ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์











วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 16

14  กุมภาพันธ์  2556



กิจกรรมการเรียนการสอน

  - ต้นชั่วโมงเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม "โครงการส่งเสริมการใช้แก้วน้ำส่วนตัว" ณ ลานแดง 



   - อาจารย์เตือนสติเรื่อง การเขียน  >>  ถ้าลายมือไม่สวย ไม่ต้องให้อาจารย์ไปนิเทศน์เวลาฝึกสอน   เพราะเราเป็นครูปฐมวัย จำเป็นมากเรื่องลายมือ  เราต้องเขียนกำกับผลงานของเด็กทุกวันเพื่อส่งให้ผู้ปกครองของเด็กทราบพัฒนาการของบุตรหลานของท่าน
   -  อาจารย์นำภาพที่เป็นผังมโนทัศน์ในการนำเสนอข้อมูลคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มาให้นักศึกษาดู

เทคนิคการนำเสนอข้อมูล
ขอบคุณภาพจาก  ร.ร.เกษมพิทยา


   -  อาจารย์ให้ดูงานศิลปะของเด็กปฐมวัยที่บูรณาการคณิตศาสตร์  จากโรงเรียนเกษมพิทยา




   -  สอบสอน  กลุ่มที่ 3  หน่วย ... ธรรมชาติ (ทะเลแสนงาม)
      วิธีการสอนของเพื่อน คือ
      1.  ใช้คำถาม "เด็กๆเคยไปเที่ยวทะเลไหมค่ะ?"   แล้วที่ทะเลมีสัตว์อะไรบ้าง?
      2.  ใช้นิทานเป็นสื่อการสอนเรื่องทะเล  นิทานเรื่อง .... โลกใต้ท้องทะเล
      Comment จากอาจารย์ผู้สอน
          การที่จะสอนวันจันทร์ ไม่ควรใชนิทานมาเป็นการสอนวันแรก เพราะนิทานต้องเป็นเรื่องของประโยชน์  , เกี่ยวกับเรื่องราว ,  และสาระต่างๆ 

   -  สอบสอน กลุ่มที่  4  หน่วย ...  ผม
       วิธีการสอนของเพื่อน   คือ
       วันจันทร์ :  ชนิดของผม
       - เอามือจับหัว  จับไหล่  จับเอว จับหัว  (2 รอบ)  เด็กๆลองสัมผัสดูสิค่ะว่าเด็กๆจับอะไรอยู่??
       Comment  จากอาจารย์ผู้สอน
       1.  จุดมุ่งหมายที่สอนเรื่องผมคือ????   >> อยากให้รู้เรื่องผมเพื่อการดูแลรักษา
       2.  ต้องแตก Map ชนิดของผม
       3.  การสอนในวัจันทร์ต้องเป็นเรื่องของลักษณะของผม
       4.  การเปรียบเทียบต้องเป็นชนิดเดียวกัน แต่ต้องมีจุดเด่นของสิ่งนั้นๆ
       5.  การนำเสนอข้อมูล
            -  ลักษณะของผม >> Mapping
            -  ทำสถิติความชอบของเด็ก ผมสั้น,ผมยาว
            -  หน้าที่ของผม >> นิทาน , แตก Mapping ความคิด
            -  ประโยชน์และข้อควรระวัง >> การเปรียบเทียบ
            -  วิธีดูแลรักษา >> แตก Mapping แสดงขั้นตอนของการดูแลรักษา
            -  อาชีพที่เกิดจากผม  >>  แตก Mapping 


หมายเหตุ

             แผนการสอนที่ได้รับมอบหมาย    วันพฤหัสบดี   หน่วย ..... น้ำ


                        



สื่อที่ใช้ในการสอน หน่วย...น้ำ



วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียน ครั้งที่ 15

7  กุมภาพันธ์  2556


กิจกรรมการเรียน การสอน

   -  สอบสอน กลุ่มที่ 2     หน่วย.... ต้นไม้

วันจันทร์    :   ชนิดของต้นไม้

-  ครูต้องเปิดประเด็น (นำเข้าสู่บทเรียน)
-  ครูใช้คำถามเพื่อกระตุ้นความคิดของเด็ก  "เด็กๆบอกคุณครูสิว่าที่บ้านปลูกต้นไม้อะไรบ้างค่ะ?"
-  การสอนของครู คือ  การนำต้นไม้จริงมาให้เด็กๆได้เห็นภาพจริง และสามารถสัมผัสกับสิ่งนั้นได้   
    ต้นไม้ที่ครูนำมามี 2 ประเภท คือ  ต้นไม้ยืนต้น  (มะขาม)  และต้นไม้ล้มลุก (ผักชี)
-  ให้เด็กๆลองแยกประเภท ก็จะได้ ต้นเล็กกับต้นใหญ่ >> ขนาดของลำต้น
-  ครูจะสอนต่อว่า "ต้นไม้ยืนต้นนั้นมีลักษณะอย่างไร?"  และ "ต้นไม้ล้มลุกมีลักษณะอย่างไร?"

วันอังคาร  :   ลักษณะของต้นไม้

- ครูใช้คำถามเพื่อกระตุ้นและทบทวนความรู้และเรื่องที่เด็กเรียนไปแล้วเมื่อวาน "เมื่อวานเด็กๆรู้จักต้นไม้อะไรบ้งค่ะ?  และประเภทไหนบ้าง?"
-  คุณครูนำต้นมะขามและต้นผักชีขึ้นมาให้เด็กๆสังเกต (การให้เด็กสังเกตต้องให้ดูทีละชนิดเท่านั้น)
-  สิ่งที่เด็กๆต้องสังเกต เช่น  ราก  ใบ  ลำต้น >> แล้วให้บอกความแตกต่างของต้นไม้ทั้งสองต้น
-  เขียนผัง แสดงการวิเคาระห์และเปรียบเทียบ  




วันพุธ  :  ส่วนประกอบของต้นไม้

-  ครูใช้คำถามทบทวนความรู้ที่เด็กๆเรียนไปแล้วเมื่อวาน "ต้นไม้ล้มลุกและต้นไม้ยืนต้นมีอะไรที่ต่างกันค่ะ?"

-  วันนี้คุณครูมีส่วนประกอบของต้นไม้มาให้เด็กๆดู  (ครูมีรูปภาพให้เด็กๆดู)

-  เด็กๆคิดว่าส่วนประกอบต่างๆของต้นไม้มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง?  ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด
-  ครูอาจจะยกตัวอย่างการเปรีบเทียบต้นไม้กับคน  เช่น  ราก = ปาก  
-   ''ครูถามเด็กๆว่าเด็กๆอยากปลูกดอกไม้อะไร?''  ครูนำเสนอข้อมูลเป็นแผนภูมิ


- หลังจากที่ครูนำเสนอข้อมูลเป็นแผนภูมิ แล้วใช้ตัวเลขกำจับจำนวน หรือใช้คำว่ามากกว่า หรือน้อยกว่า เช่น  1.  เด็กที่อยากปลูกดอกดาวเรืองน้อยกว่าเด็กๆที่อยากปลูกดอกชบา     2 คน
        2.  เด็กๆที่อยากปลูกดอกชบามากกว่าเด็กๆที่อยากปลูกดอกดาวเรือง   2 คน


วันพฤหัสบดี  :  ประโยชน์ของต้นไม้

คุณครูใช้นิทานเป็นสื่อการสอนเพื่อให้เด็กๆทราบถึงประโยชน์ของต้นไม้


วันศุกร์  :  อันตรายจากต้นไม้

-  ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิดของเด็กๆ "เด็กๆบอกคุณครูสิว่าเด็กๆเคยได้รับอันตรายจากต้นไม้ไหม?"
-  ครูบอกข้อระวังต้นไม้บางประเภทที่ถ้าเข้าใกล้แล้วจะเกิดอันตราย  เช่น  ต้นไม้มีพิษ
-  ครูอาจมีภาพที่เด็กได้รับอันตราย เช่น  ต้นไม้หักหล่นทับ  ตกต้นไม้  

อันตรายจากต้นไม้
-  ครูอาจพาเด็กๆออกไปสำรวจต้นไม้ในโรงเรียน


หมายเหตุ

     ทำ Mind  Mapping   มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ลง Blogger 

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียน ครั้งที่ 13

24   มกราคม  2556


กิจกรรมการเรียน  การสอน

   -  สาระสำคัญในหน่วยการเรียนรู้ที่ตัวเองสร้างขึ้น  ให้แยกออกเป็น  5  วัน  (จันทร์ -  ศุกร์)

หน่วย....น้ำ 
   -   จากที่แยกสาระสำคัญออกเป็น  5 วัน แล้ว ให้บูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนด้วย
   -   พัฒนาการทางสติปัญญา
        เด็กเล็ก :  ใช้ของจริงแทนภาพ (เพื่อการเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)
        เด็กโตขึ้นมาหน่อย  :  ใช้ภาพและคุณครูเขียนขึ้นกระดาน 
        เด็กโต  :   ใช้ตัวเลขกำกับจำนวน 

   -  หลักในการเลือกหน่วยการเรียนรู้ให้กับเด็ก  สิ่งที่ควรคำนึง
    1.   ใกล้ตัวเด็ก
    2.   มีผลกระทบกับเด็ก
    3.   ในชีวิตประจำวันของเด็ก

   -   การแยกกลุ่ม จัดอยู่ใน มฐ. 1  การรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
   -   ช่วงความสนใจของเด็ก  =   20 - 25  นาทีเพียงเท่านั้น!!!
   -   จังหวะที่เหมาะกับนิทาน  คือ  การพูดถึงประโยชน์ในสิ่งที่จะสื่อให้เด็กได้รู้
   -   การชั่งน้ำหนักด้วยกิโล  =  ต้องแสดงออกเป็นตัวเลขที่แน่ชัด และเท็จจริง

Ex.      การวัด


การวัดระยะทางจากบ้าน ไป  โรงพยาบาล


  หมายเหตุ  

     วันพฤหัสบดีที่  31  มกราคม  2556   Present การแยกสาระสำคัญในหน่วยต่างๆออกมาบูรณาการในการสอนคณิตศาสตร์ปฐมวัย

การเข้าชั้นเรียน ครั้งที่ 12

17  มกราคม  2556


กิจกรรมการเรียนการสอน

   - อาจารย์ได้มอบหมายงานให้อ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คนละ  1 เรื่อง
   -  สร้างกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกับหน่วยสาระที่ตัวเองสร้างขึ้น  Present  24  มกราคม 2556 
   -  สาระ  มาตรฐานการเรียนรู้  และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ปฐมวัย
      สาระที่  1  :  จำนวนและการดำเนินการ
      สาระที่  2  :  การวัด
      สาระที่  3  :  เรขาคณิต
      สาระที่  4  :  พีชคณิต
      สาระที่  5  :  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
      สาระที่  6  :  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
          Ex.      ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  โดยมีตะเกียบเป็นสื่อในการเรียนรู้
                      การสอนเลขฐานสิบ


หนึ่งขีด แทนจำนวนตะเกียบหนึ่งอัน

** เด็กๆจะเรียนรู้ได้ดีจากการลงมือกระทำกับวัตถุ **

**  การที่ครูจะจัดกิจกรรมใดๆให้กับเด็กๆก็ตาม ต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
มีผลกระทบกับเด็ก  เช่น กิจวัตรประจำวัน  **

   -   สาระสำคัญ +  ประสบการณ์สำคัญ  =  การจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆ
   -   สิ่งสำคัญในการจัดการเรียนการสอน
        1.  สาระสำคัญ
        2.  ประสบการณ์สำคัญ
        3.  บูรณาการ
   -   พัฒนาการเป็นเป้าหมาย  ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก
   
สรุปองค์ความรู้ที่เรียนในวันนี้

      จากการจัดกิจกรรมข้างต้น  เด็กเกิดการคิดรวบยอด (concept) ว่า "ตัวเลขหลักหน่วยจะเพิ่มขึนเรื่อยๆ เมื่อจำนวนนั้นครบ  10  ถ้าครบ 10  แล้วก็ปัดจำนวนไปหลักข้างหน้าเสมอ"

หมายเหตุ
      งานที่ได้รับมอบหมาย  ผลิตเครื่องมือวัดแบบต่างๆ



วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียน ครั้งที่ 11

10  มกราคม  2556


กิจกรรมการเรียนการสอน

     -  การนำเสนอข้อมูลเป็น  Mind Mapping  เป็นเครื่องมือแบบบวิธีการ
     -  เนื้อหาสาระ   ในหลักสูตรใช้ชื่อว่า  สาระสำคัญ  = เชือกที่ผูกไว้กับตัวเด็ก เพื่อเชื่อมโยงไปถึงเด็ก
     พัฒนาการของเด็ก แรกเกิด -  6  ปี
       แรกเกิด - 2 ปี  :  ใช้ประสาทสัมผัส
       2-4  ปี  :  ใช้ภาษาได้    สื่อสารได้
       4-6  ปี  :   ใช้ภาษาที่เป็นประโยคมากขึ้น  มีการใช้เหตุผล
     -  ประชุมปรึกษา  เสนอความคิดเห็น "การจัดงานปีใหม่สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่  2"  
        ในวันพุธ  ที่  23  มกราคม  2556    เวลา   17:00 น.
     -  การแตกสาระจาก  Mind Mapping ออกมา  เกิดจากการคิดวิเคราะห์




     - มาตรฐานการเรียนรู้  ตัวชี้วัด  และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
        สาระที่ 1     จำนวนและการดำเนินการ
        สาระที่ 2     การวัด
        สาระที่ 3     เรขาคณิต
        สาระที่ 4     พีชคณิต
        สาระที่ 5     การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
        สาระที่ 6     ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

หมายเหตุ

        อาจารย์ได้สั่งงาน :  จาก Mind Mapping ที่ได้สร้างสาระการเรียนรู้ ให้แยกสาระการเรียนรรู้          ออกเป็น 5  วัน  จันทร์ - ศุกร์   กำหนดส่ง   17  มกราคม  2556